ใบงานการออกแบบชุดกิจกรรม คนละ 1 กิจกรรม

โครงการ “กิน กอด เล่น เล่า” ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว

โครงการ “กิน กอด เล่น เล่า” ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว

โดย นางสาวกานต์ธารี โคตุทา -
Number of replies: 0

หลักการและเหตุผล

             ปัจจุบันการอบรมเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว โดยลักษณะเป็นครอบครัวเดียวมากขึ้น บิดามารดาต้องออกทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว  ต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้านหรือต่างจังหวัด   จึงต้องส่งลูกเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีหน้าที่ในการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย  แต่เมื่อเด็กกลับบ้านผู้ที่มีหน้าที่ดูแลต่อจากครูคือผู้ปกครอง  ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมในการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะสอดคล้องกับวุฒิภาวะและระดับความสามารถของเด็ก  ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยนี้  ซึ่งพบว่าเด็กในช่วงวัย 6 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆด้าน เป็นวัยที่ต้องการได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่น การส่งเสริมประสบการณ์ต่างๆ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดี และปลอดภัย เป็นหน้าที่สำคัญยิ่งของ พ่อ แม่ ซึ่งการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในช่วงวัยนี้ อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นรากฐานที่ดี นำไปสู่คุณภาพของผู้ใหญ่ที่จะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป

                 องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว ได้ตระหนักว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนตำบลเมืองบัว  ให้มีพัฒนาการที่สมวัยเด็กที่สมวัย   โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนและพัฒนาเด็กในศูนย์เด็กเล็กให้มีพัฒนาการสมวัยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีวิธีง่ายๆโดยใช้แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า สำหรับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงกับพ่อ แม่ หรือ ผู้เลี้ยงดู ซึ่งส่งผลให้เด็กรู้จักกินเป็น  เล่นเป็น ฟังเป็น รักคนอื่นเป็น มีจิตใจที่ดี มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม  ยอมรับนับถือตนเอง  และได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ท้ายสุดเด็กจะมีความฉลาดทางอารมณ์พร้อมที่จะออกสู่สังคม  และเผชิญโลกภายนอกได้อย่างมีความสุขและเข้มแข็งต่อไป 

1. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

        1.1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็กเล็กได้อย่างเหมาะสมตามวัย

        1.เพื่อให้เด็กมีความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

        1.เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ผ่านกิจกรรม “กิน กอด  เล่น เล่า”

 

 

 

 

 

2. วิธีดำเนินการ

                    2.1  ประชุมวางแผนครู,คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ

                    2.อบรมเชิงปฏิบัติการ ครู,คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และตัวแทนผู้ปกครอง

เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานโดย

-          กำหนดวิเคราะห์ช่วงเกณฑ์อายุของเด็ก พัฒนาการของเด็ก

-          ตั้งเป้าคุณลักษณะของเด็ก/ลูกหลานที่พึงประสงค์

-          คัดเลือกผู้ปกครองที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ

-          กำหนดกิจกรรมและตัวชี้วัด (ผ่านกิจกรรมกอด เล่น เล่า ทุกวันศุกร์)

                    2.3  จัดทำแผนการจัดกิจกรรมเป็นฐานหมุนเวียนให้แก่ผู้ปกครอง จำนวน  4 ฐาน ดังนี้

                             - ฐานที่ 1  กิน   ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานที่กำหนด

                             - ฐานที่ 2  กอด ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานที่กำหนด

                             - ฐานที่ 3  เล่น  ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานที่กำหนด

                             - ฐานที่ 4  เล่า   ปฏิบัติกิจกรรมตามฐานที่กำหนด

ทุกวันศุกร์  โดยการมีส่วนร่วม ของผู้ปกครองตามแผนปฏิบัติการ สรุปบทเรียน (ความรู้สึกทบทวนขั้นตอนของกิจกรรม แนวคิดที่ได้ความรู้ /ผลการดำเนินงาน)

                    2.4  ติดตามตรวจเยี่ยมเด็กและผู้ปกครอง  โดยครู  ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

                    2.5  สรุปผลการเข้าร่วมอบรม ทบทวนความรู้  และจัดทำรายงาน

 3.กลุ่มป้าหมาย

                    3.1 ครู  ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว จำนวน  24  คน

                    3.2 ผู้ปกครองเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว จำนวน  150  คน

 

4. ระยะเวลาดำเนินการ

                    วันที่ 8  สิงหาคม  2562

5. สถานที่ดำเนินการ

                    ณ  หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว  ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

6. งบประมาณ

                    จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว จำนวน 22 ,000 บาท (สองหมื่นสองพันบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ค่าอาหารกลางวัน        จำนวน  150 คนๆ  ละ 50 บาท  จำนวน 1 มื้อ    เป็นเงิน  7,500  บาท

2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน ๆ ละ 25 บาท  จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน  3,750  บาท

            3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน  3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                         เป็นเงิน  1,800  บาท                                                                                 4. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายโครงการฯ ขนาดกว้าง 2 เมตร x ยาว 4  เมตร          เป็นเงิน  800    บาท

           5. ค่าจัดชื้อสื่อประกอบการจัดกิจกรรม  จำนวน   8,150   บาท 

                 ประกอบด้วย

                -   หนังสือนิทาน               จำนวน  100 เล่มๆละ 35 บาท                 เป็นเงิน  3,500  บาท

                -   โปสเตอร์                    จำนวน    6  แผ่นๆละ 25 บาท                  เป็นเงิน  150    บาท

                -   ตุ๊กตาบทบาทสมมุติ       จำนวน 45   ตัวๆละ 100 บาท                  เป็นเงิน  4,500  บาท

                                                     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  22 ,000 บาท (สองหมื่นสองพันบาทถ้วน)

 

 

 

 

 

 

 

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            7.1  ผู้ปกครองมีบทบาทและส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่สมวัย

          7.2  เด็กมีความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย

          7.3  ผู้ปกครองครู  ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน