ประวัติศาสตร์ไทย ม.4
KRU_PKW มณีน้อย พงษ์เกตุศิริพัฒนา

ประวัติศาสตร์ไทย ม.4

ศึกษา วิเคราะห์ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปัญหาการเมืองการปกครองไทย การตรวจสอบอำนาจของรัฐ การประสานประโยชน์กับระหว่างประเทศ  วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย  ปัจจัยที่ส่งเสริมและสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย  วัฒนธรรมไทย  การอนุรักษ์ ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมและบทบาทของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

               โดยใช้วิธีศึกษาค้นคว้า สัมมนา อภิปราย นำเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือโครงงาน   การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความรู้ความสามารถและความเข้าใจในระบอบการปกครอง วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสำนึกในความเป็นไทย  และอนุรักษ์หวงแหนภูมิปัญญา  และวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป

 

รหัสตัวชี้วัด

ส  2.2     ม.4-6/1,  ม.4-6/2,  ม.4-6/3,  ม.4-6/4,  ม.4-6/5,  ม.4-6/6,

ส  4.3    ม.4-6/3,  ม.4-6/4,  ม.4-6/5

 

รวมทั้งหมด    9    ตัวชี้วัด

 


ประวัติศาสตร์สากลม.6
KRU_PKW มณีน้อย พงษ์เกตุศิริพัฒนา

ประวัติศาสตร์สากลม.6

ศึกษาบทบาทของรัฐบาลด้านนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและโลกระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆ ของโลกวิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อสังคมไทยผลดี ผลเสียของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการดาเนินชีวิตตามแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ฝึกการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในยุค โลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อสังคมไทยผลดี ผลเสียของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการดาเนินชีวิตตามแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การวัดผลและประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพความเป็นจริง ให้สอดคล้องกับเนื้อหา ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความหมาย และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่ต้องการวัด

รหัสตัวชี้วัด

3.2 .4-6/1,3.2 .4-6/2,3.2 .4-6/3

5.2 .4-6/3,5.2 .4-6/4,5.2 .4-6/5

รวมทั้งหมด 6 ตัวชี้วัด

 


สังคมศึกษาฯ ม.3
KRU_PKW มณีน้อย พงษ์เกตุศิริพัฒนา

สังคมศึกษาฯ ม.3

ศึกษา  ค้นคว้า  วิเคราะห์  อภิปราย ปฏิบัติ สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฎฐานเน้นอานาปานสติ ศาสนาที่สำคัญของโลก การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ ทิศ 6 ทิศเบื้องขวา หน้าที่ชาวพุทธ  ศาสนพิธีและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ องค์กรทางพระพุทธศาสนา  กลไกราคา  เศรษฐกิจพอเพียง  รัฐกับการพัฒนาเศรษฐกิจ   การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ  ปัญหาทางการเงิน  การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ   พัฒนาการและเหตุการณ์สำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

               เพื่อให้มีความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ สามารถวิเคราะห์และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอเหมาะ  มีจิตสาธารณะ มีจริยธรรม คุณธรรมนำความรู้ และค่านิยมที่เหมาะสม ปฏิบัติตนตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข  เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

 

รหัสตัวชี้วัด

ส  1.1  ม.3/9,  ม.3/10,

ส  1.2   ม.3/1,  ม.3/2,  ม.3/3,  ม.3/4,  ม.3/5,  ม.3/6,  ม.3/7,

ส  3.1  ม.3/1,  ม.3/2,  ม.3/3,

ส  3.2   ม.3/1,  ม.3/2,  ม.3/3,  ม.3/4,  ม.3/5,  ม.3/6,

ส  4.2   ม.3/1,  ม.3/2

 

รวมทั้งหมด  20  ตัวชี้วัด

 


ประวัติศาสตร์ ม.2
KRU_PKW มณีน้อย พงษ์เกตุศิริพัฒนา

ประวัติศาสตร์ ม.2

ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ศึกษา ค้นคว้า อภิปราย ประวัติความเป็นมา ปัจจัยที่ส่งเสริมให้อาณาจักรธนบุรีมีความรุ่งเรืองและเสื่อมลง พัฒนาการทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ    สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญา  ของกรุงธนบุรี

               เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ สามารถสื่อสาร   สิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ สามารถวิเคราะห์และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์   มีจิตสาธารณะ มีจริยธรรม คุณธรรมนำความรู้ และค่านิยมที่เหมาะสม   เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

 

รหัสตัวชี้วัด

ส  4.3  ม.2/1,  ม.2/2 ,  ม.2/3

 

รวมทั้งหมด  3  ตัวชี้วัด


สังคมศึกษาฯ ม.1
KRU_PKW มณีน้อย พงษ์เกตุศิริพัฒนา

สังคมศึกษาฯ ม.1

ศึกษา  ค้นคว้า  วิเคราะห์  อภิปราย ปฏิบัติ  ศาสนาที่สำคัญของโลก บุคคลสำคัญในท้องถิ่น                     ที่มีผลงานด้านศาสนสัมพันธ์ มารยาทชาวพุทธ การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์   หน้าที่ชาวพุทธ                   ศาสนพิธี   วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์  การบริโภค  เศรษฐกิจพอเพียง  สถาบันทางการเงิน อุปสงค์ อุปทาน  กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  พัฒนาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

               เพื่อให้มีความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ สามารถวิเคราะห์และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต  โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอเหมาะ   มีจิตสาธารณะ  มีจริยธรรม คุณธรรมนำความรู้ และค่านิยมที่เหมาะสม ปฏิบัติตนตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข  เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

 

รหัสตัวชี้วัด

ส  1.1   ม.1/9,  ม.1/10,  ม.1/11,

ส  1.2   ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3,  ม.1/4,  ม.1/5,

ส  3.1   ม.1/1,  ม.1/2 ,  ม.1/3,   

ส  3.2   ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3,  ม.1/4,  

ส  4.2   ม.1/1,  ม.1/2

 

รวมทั้งหมด    17    ตัวชี้วัด


ประวัติศาสตร์ ม.3
KRU_PKW วนรัตน์  รุ่งพิสิฐไชย

ประวัติศาสตร์ ม.3

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ประวัติศาสตร์      รหัสวิชา ส23103      กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3               ภาคเรียนที่ 1             เวลาเรียน  2๐ ชั่วโมง   จำนวน 0.5  หน่วยกิต

        ศึกษา วิเคราะห์ เรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผลตามวิธีการทางประวัติศาสตร์    ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่ตนสนใจ พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ในด้านต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ บทบาทของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีในการสร้างสรรค์ความเจริญและความมั่นคงของชาติ พัฒนาการของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ทางด้านการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามช่วงสมัยต่างๆ เหตุการณ์สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีผลต่อการพัฒนาชาติไทย โดยวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัย และผลของเหตุการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย และบทบาทของไทยในสมัยประชาธิปไตย

        โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ท้องถิ่นของตนเอง และประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดจนพัฒนาการในภูมิภาคต่างๆ ของโลก

        เกิดความรักความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคต่างๆ ของโลกและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

       ตัวชี้วัด

       4.1    ม.3/1  ม.3/2 

       4.3    ม.3/1  ม.3/2  ม.3/3  ม.3/4  

        รวม  6  ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

          ส 4.1 ม.3/1    วิเคราะห์เรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผล

                                ตามวิธีการทางประวัติศาสตร์

          ส 4.3 ม.3/2    วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรื่องของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

          ส 4.3 ม.3/3    วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์และอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย

          ส 4.3 ม.3/4    วิเคราะห์บทบาทของไทยในสมัยประชาธิปไตย       

ตัวชี้วัดปลายทาง

          ส 4.1 ม.3/2    ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่ตนสนใจ

          ส 4.3 ม.3/1    วิเคราะห์พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ในด้านต่างๆ

 

รวม 6 ตัวชี้วัด  ประกอบด้วย  4  ตัวชี้วัดระหว่างทาง  2  ตัวชี้วัดปลายทาง


สังคมศึกษา ม.2
KRU_PKW วนรัตน์  รุ่งพิสิฐไชย

สังคมศึกษา ม.2

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา สังคมศึกษาพื้นฐาน      รหัสวิชา ส๒๒๑๐๑     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒               ภาคเรียนที่ ๑             เวลาเรียน  ๔๐ ชั่วโมง   จำนวน ๑  หน่วยกิต

..............................................................................................................................................................................

 

          ศึกษา วิเคราะห์บทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของสถานบันทางสังคม ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยสมัยปัจจุบัน กระบวนการในการตรากฎหมาย การปกป้องคุ้มครองผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติติ และกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตนตามหน้าที่ ของการเป็นพลเมืองดี

          วิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ การพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย การกระจายของทรัพยากรในโลกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การแข่งขันทางการค้าในประเทศและต่างประเทศที่ส่งผลต่อคุณภาพสินค้า ปริมาณการผลิตและราคาสินค้า ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและการออม ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การคุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า เข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิต สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้าน มีวินัย  ใฝ่เรียรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน ทำงาน

มีจิตสาธารณะ  อยู่อย่างพอเพียง

โดยใช้วิธีการทางสังคมศาสตร์ การศึกษาค้นคว้า อภิปราย สืบค้นข้อมูล เปรียบเทียบ สำรวจ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งของหรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผลและสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ

เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิต มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม มีค่านิยมที่เหมาะสม และเป็นพลเมืองดีต่อสังคมและประเทศชาติ

รหัสตัวชี้วัด

                ส ๒.๑  ม.2/๑  ม.2/๒  ม.2/๓  ม.2/๔ 

          ส ๒.๒  ม.2/๑ ม.2/๒

          ส ๓.๑  ม.2/๑   ม.2/๒  ม.2/๓  ม.2/๔ 

ส ๓.๒  ม.2/๑   ม.2/๒  ม.2/๓  ม.2/๔ 

รวมทั้งหมด  ๑๔  ตัวชี้วัด

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

          ส 2.1 ม.๒/2   เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนจามสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ หน้าที่ในฐานะพลเมืองดี

                               ตามวิถีประชาธิปไตย

          ส 2.1 ม.๒/๓   วิเคราะห์บทบาทความสำคัญ และความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม

          ส 2.2 ม.๒/1    อธิบายกระบวนการตรากฎหมาย

ส ๓.1 ม.๒/1    วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและการออม

ส ๓.1 ม.๒/2    อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้า และบริการ

ส ๓.1 ม.๒/4    อภิปรายแนวทางการคุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานผู้บริโภค

ส ๓.2 ม.๒/1    อภิปรายระบบเศรฐกิจแบบต่างๆ

ส ๓.2 ม.๒/2    ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการพึ่งพาอาศัยกันและการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ

ในภูมิภาคเอเชีย

          ส ๓.2 ม.๒/3    วิเคราะห์การกระจายของทรัพยากรในโลกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

ระหว่างประเทศ

ตัวชี้วัดปลายทาง

          ส 2.1 ม.๒/1    อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ

          ส 2.1 ม.๒/๔    อธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศใน

ภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

          ส 2.๒ ม.๒/๒    วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง การปกครอง ที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย สมัยปัจจุบัน

ส ๓.1 ม.๒/3    เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ส ๓.2 ม.๒/4    วิเคราะห์การแข่งขันทางการค้า ในประเทศและต่างประเทศที่ส่งผลต่อคุณภาพสินค้า 

          ปริมาณการผลิตและราคาสินค้า

 

รวม ๑๔ ตัวชี้วัด  ประกอบด้วย  ๙  ตัวชี้วัดระหว่างทาง  ๕  ตัวชี้วัดปลายทาง

ประวัติศาสตร์ ม.1
KRU_PKW วนรัตน์  รุ่งพิสิฐไชย

ประวัติศาสตร์ ม.1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาประวัติศาสตร์  รหัสวิชา ส ๒๑๑๐๓             กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑       ภาคเรียนที่ ๑          เวลา  ๒๐  ชั่วโมง                      จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

อธิบายและวิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทียบศักราชตามระบบต่างๆ ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ นำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และระบุความสำคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยใช้กระบวนการสืบค้นข้อมูล การรวบรวมข้อมูล กระบวนการการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการแก้ปัญหา และวิธีการทางประวัติศาสตร์

เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติที่มีความเปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และผลกระทบที่มี

ต่อสังคมไทย เข้าใจ และอยู่ร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

          ส 4.1 ม.1/1 วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

          ส 4.1 ม.1/2 เทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          ส 4.2 ม.1/2 ระบุความสำคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้\

          ส 4.1 ม.1/1 วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

          ส 4.1 ม.1/2 เทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          ส 4.1 ม.1/1 วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

          ส 4.1 ม.1/2 เทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          ส 4.3 ม.1/3 วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยและสังคมไทยในปัจจุบัน

ตัวชี้วัดปลายทาง

          4.1 ม.1/3 นำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

          ส 4.2 ม.1/1 อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชีย   

                           ตะวันออกเฉียงใต้

          ส 4.1 ม.1/3 นำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

          ส 4.3 ม.1/1 อธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทยโดยสังเขป

          ส 4.1 ม.1/3 นำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

          ส 4.3 ม.1/2 วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยในด้านต่าง ๆ