โครงงาน หนูน้อยนักสัมผัส
1.หลักการและเหตุผล
ด้วยหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย กล่าวไว้ว่าการปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่อาศัยอยู่ ด้วยความรักความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม ดังนั้นการจัดการเรียนการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องราวเกี่ยวตัวเด็ก หน่วยการจัดประสบการณ์ หน่วยการเรียนรู้ หนูน้อยนักสัมผัส และการจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในมาตรฐานที่ 15 ตัวบ่งชี้ที่15.1 สนใจและปฏิบัติกิจกรรม มาตรฐานที่ 16 ตัวบ่งชี้ที่16.2 แก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย บ่งชี้ที่16.3 มีจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ 17 มาตรฐานที่ 17 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย / แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มาตรฐานที่ 17 ตัวบ่งชี้ 17.1 มีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก มาตรฐานที่ 17 ตัวบ่งชี้ 17.2 ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การชิมรส การสัมผัสเหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ 17 ตัวบ่งชี้ 17.3 ผู้เรียนบอก / เล่าความต้องการ ความรู้สึกขอตนเองและถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ 19 ตัวบ่งชี้ที่19.2 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และป้องตนเองไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวบ่งชี้ที่19.2 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามวัย ตัวบ่งชี้ที่19.3 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น มาตรฐานที่ 20 ตัวบ่งชี้ 20.1 ผู้เรียนมี ร่วมกับเพื่อนๆและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครูและผู้อื่นมาตรฐานที่ 21 ตัวบ่งชี้ 21.2 สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสมตามวัย เด็กเล็กวัย 2 – 3 ขวบนั้นต้องกำลังเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวและเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นอยากสัมผัสจับต้องและทำอะไรด้วยเอง จำเป็นต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามความสามารถของเด็กเล็กในวัยนี้
ฉะนั้นจึงเล็งเห็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการกิจกรรมให้เด็กเล็กได้สัมผัส การมองเห็น การสัมผัส การดมกลิ่น การได้ยิน การรับรู้ กิจกรรมจะมีการรสต่างๆรส ทั้ง 5 รส รสจืดที่จากผัก น้ำ รสหวานจากน้ำตาล น้ำผลไม้ชิมน้ำสตอบอรี่ รสเค็มจากเกลือ น้ำปลา รสเปรี้ยวจากผลไม้รสเปรี้ยว มะยม มะนาว ชิมน้ำมะนาว ผลไม้รสเปรี้ยวผสมด้วย รสเผ็ดจากพริกสดและรสขมจากมะระมะเขือพวง และให้เด็กเล็กได้เรียนคุณประโยชน์และโทษของการรับประทานอาหารที่รสชาติหวาน เค็ม เปรี้ยวและเผ็ด การดมและการทดสอบกลิ่นต่างๆของพืชผัก ผลไม้ บอกรสชาติ อาหารนั้นๆได้ ชื่อผักผลไม้ และเครื่องรสต่างๆเค็มเปรี้ยว หวานได้มาจากอะไรบ้าง ฝึกเรียนรู้รูทรง รูปร่างลักษณะของอาหารและหยิบจับต้องอาหารและเครื่องปรุงรสชาติอาหาร นั้น พืชผักผลไม้ และเครื่องปรุงรสชาติในอาหาร และเรียนรู้คุณประโยชน์และโทษของอาหาร และเครื่องปรุงรสต่างๆ ถ้ารับประทานมากและน้อยไปจะส่งเช่นไรต่อร่างกายและการที่เด็กเล็กทักษะการได้ยินเสียงและการฟังจากครูพูดและอธิบาย เด็กเล็กกล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามวัย มีความรักสามัคคีกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็กให้มีพัฒนาการรอบด้าน ทั้ง 4 ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-อารมณ์ สังคมและสติปัญญาทั้งนี้ทำให้เด็กเล็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ฝึกพัฒนาทักษะการพูด การใช้ภาษา การใช้คำต่างๆ มีสุขภาพจิตดีสดชื่นแจ่มใสและจิตใจอ่อนโยนมีสมาธิ ผ่อนคลายที่ได้รับรู้รสสัมผัสที่หวานของขนมและน้ำตาล และผลไม้รสเปรี้ยวและหวานรวมกัน เด็กเล็กมีความสนใจความสุขสนุกสนานเพลินเพลิดในการทำกิจกรรม มีสุนทรียภาพต่อสิ่งต่างๆรอบตัวและแยกแยะรสชาติอาหาร และกลิ่นอาหารและพืชผักและเครื่องปรุงต่างๆ พืชผักผลไม้การ แยกแยะและจำแนกสิ่งของและสิ่งต่างๆได้ รวมทั้งถึงการนำไปใช้ประโยชน์ต่อตนเองและนำไปใช้ปฏิบัติร่วมกับผู้ปกครองในชีวิตประจำวันได้
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กเล็กสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กเด็กเล็กฝึกพัฒนาทักษะการพูด การใช้ภาษา การใช้คำต่างๆ กล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามวัย มีความรักสามัคคีกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2. เพื่อให้เด็กเล็กเรียนรู้คุณประโยชน์และโทษของอาหาร เด็กเล็กจำแนกแยกแยะการรับรู้ กลิ่น รสชาติอาหาร พืชผักน้ำผลไม้ สิ่งของและสิ่งต่างๆและฝึกทักษะทักษะการได้ยินการฟัง เรียนรู้รูทรง รูปร่างลักษณะของ พืชผักน้ำผลไม้ และเครื่องปรุงรสได้
3. เพื่อให้เด็กเล็ก มีสุขภาพจิตดีสดชื่นแจ่มใสและจิตใจอ่อนโยนมีสมาธิ ผ่อนคลาย เด็กเล็กมีความสุขสนุกสนานสุนทรียภาพต่อสิ่งต่างๆรอบตัว
3. เป้าหมาย
- เด็กเล็กทุกคนในชั้นระดับอนุบาล1/1 จำนวน 26 คน
4. ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม
วันที่ 9 มีนาคม 2561
5 วัสดุและอุปกรณ์
- น้ำปลา/เกลือ/น้ำตาลทราย/มะนาว /พริกสด/ผักกาดหอม/พริกสด/ มะเขือเทศสุก /พริกผง/ถาดใส่ผลไม้
/ตะกร้าใส่ผลไม้ /จานรอง/ ถ้วยเล็ก/ แก้วน้ำ /มะม่วง/ มะระ/มะเขือพวง
6.ผู้มีส่วนร่วม ในการจัดทำ
1. ครูผู้ดูแล/ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก
2. ครูผู้ดูแลในชั้นเรียน ( จัดหาวัสดุอุปกรณ์ )
3. นักเรียนชั้นอนุบาล 1/1
7. วิธีการดำเนินการ
1. ครูพาเด็กๆร้องเพลงผลไม้และทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการทำตามสัญญาและท่องจำคำคล้องจองผลไม้ พาจ้ำจี้ผลไม้ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรม และแนะนำผลไม้ชนิดต่างๆและน้ำสตอเบอรี่ น้ำมะนาว เครื่องปรุงรสต่างน้ำปลา น้ำตาล เกลือ แนะนำผักต่างๆ ชื่อผักพาฝึกพูดชื่อสิ่งของต่างๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ในการจัดกิจกรรม เช่นจาน ชาม ถ้วย เครื่องปรุงรสต่างๆ
2. ครูพาชิมรสผลไม้และเครื่องปรุงรสต่างน้ำปลา น้ำตาล เกลือและน้ำสตอเบอรี่ น้ำมะนาวและทดสอบดมกลิ่น และฝึกสังเกตขนาดรูปร่างรูปทรงลักษณะของผลไม้ชนิดต่างๆและให้เด็กๆสัมผัส จับต้องเครื่องปรุงรสต่างๆ ปรุงรสเกลือ น้ำปลา น้ำตาล และผักผลไม้ ครูแนะนำและสอนคุณประโยชน์และโทษของอาหารถ้าเกิดรับประทานรสอาหารต่างๆมากน้อยเพียงใดถ้าทานน้ำตาลมากจะสงผลเช่นไรกับร่างกายตนเองหรือรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจะส่งอย่างไรกับร่างกายและทานรสเปรี้ยวและรับประทานรสเผ็ดไม่ดีต่อเด็กเล็กและเตือนไม่รับประทานมากแนะนำผักต่างๆ พาเด็กชิมผักแนะนำการรับประทานผัก
3. ครูพาสังเกตและปอกเปลือกผ่าผลไม้ให้นักเรียนชมและฝึกสังเกตผลไม้และก็ชิมรสชาติและร่วมกันสนทนาและอภิปรายรวมกันฝึกให้เด็กรู้จัก ตั้งคำถาม ตอบคำถามและซักถามข้อสงสัยและการตอบคำถามจากที่ครูถามได้
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กเล็กสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กเด็กเล็กฝึกพัฒนาทักษะการพูด การใช้ภาษา การใช้คำต่างๆ กล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามวัย มีความรักสามัคคีกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2. เด็กเล็กเรียนรู้คุณประโยชน์และโทษของอาหารเด็กเล็กจำแนกแยกแยะการรับรู้ กลิ่น รสชาติอาหาร พืชผักผลไม้ สิ่งของและสิ่งต่างๆและฝึกทักษะทักษะการได้ยินการฟัง เรียนรู้รูทรง รูปร่างลักษณะของ พืชผักผลไม้ และเครื่องปรุงรสได้
3. เด็กเล็กมีสุขภาพจิตดีสดชื่นแจ่มใสและจิตใจอ่อนโยนมีสมาธิ ผ่อนคลาย เด็กเล็กมีความสุขสนุกสนานสุนทรียภาพต่อสิ่งต่างๆรอบตัว
9.ผลที่เกิดขึ้น ด้านต่างๆ
1. นักเรียนรู้จักผลไม้ชนิดต่างๆได้
2. นักเรียนรู้จำนวน เรียนรู้รูปร่างลักษณะของผลไม้และรสชาติของผลไม้ได้
3. นักเรียนเรียนรู้รสชาติของผลไม้ได้
ด้านร่างกาย เด็กเล็กได้ใช้มือในการหยิบจับผลไม้
ด้านอารมณ์ จิตใจ มีความสุขสนุกสนานกับการได้ชิมผลไม้
ด้านสังคม นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้
ด้านสติปัญญา นักเรียนได้ตอบคำถามและจากที่ครูถามได้และสามารถสนทนาร่วมกับเพื่อนๆและครูได้
*ในภาพรวม นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกสนานพร้อมตั้งใจทำงานรู้จัดการรอคอยในการขอคำแนะนำจากครู เด็กบางคนจะคอยช่วยเหลือเพื่อนที่อยู่ข้างๆในการสังเกตผลไม้ชนิดต่างๆ
10. เครื่องมือประเมินผล
- แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรม
- แบบสรุปประเมินการปฏิบัติกิจกรรม
- แบบบันทึกพฤติกรรม
11.ปัญหาอุปสรรค
-
หมายเหตุ พริกให้เด็กสังเกตแต่ไม่ให้ชิมและสัมผัสให้สังเกตโดยครูแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด
ลงชื่อ................................................ผู้เขียนโครงงาน
(นางสาวกานต์ธารี โคตุทา)
ครูผู้ดูแลเด็ก
ลงชื่อ.......................................ผู้เขียนโครงงาน
(นางรัชชิดา กล้าวเศษ)
ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก
ลงชื่อ.........................................ผู้เขียนโครงงาน
(นางอุไรรัตน์ กวัติภา)
ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก
ลงชื่อ ……..……………………….......ผู้เสนอโครงงาน
(นางสุภาพร คำใต้)
ครู
รักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดประชาสังคม
ลงชื่อ ……..……………………….......ผู้ตรวจสอบโครงงาน
(นางสาวมณีวรรณ
จันทรา)
นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
ลงชื่อ....................................................ผู้เห็นชอบโครงงาน/ผู้อนุมัติโครงงาน
(นางเนาวรัตน์ เนื่องมี)
หัวหน้าสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดประชาสังคม