Enrolment options

เคมี
KRU_PKW อาภัสรา  สมปอง

เคมี

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาเคมีเพิ่มเติม 1                          รหัสวิชา ว31222           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                          จำนวน  60  ชั่วโมง  1.5  หน่วยกิต

          สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับแบบจำลองอะตอมของดอลตัน  ทอมสัน  รัทเทอร์ฟอร์ด  แบบจำลองอะตอมของโบร์  คลื่นและสมบัติของคลื่นแสง  สเปกตรัมของธาตุและการแปลความหมาย  แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก  วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ  สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ  พันธะไอออนิก การเกิดพันธะไอออนิก  โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก  การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก  พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก  สมบัติสารประกอบไอออนิก ปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก  การเกิดพันธะโคเวเลนต์  ชนิดของพันธะโคเวเลนต์  แนวคิดเกี่ยวกับเรโซแนนซ์  รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์  สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์  แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์  สารโครงผลึกร่างตาข่าย  สมบัติของโลหะ  พันธะโลหะ ความยาวพันธะและพลังงานพันธะสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่  สารประกอบของธาตุแทรนซิชัน  สมบัติของธาตุกัมมันตรังสีและการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี  ความหมายของปฏิกิริยาฟิชชัน  ปฏิกิริยาฟิวชันและปฏิกิริยาลูกโซ่  ประโยชน์และโทษของธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ 

เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มี คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์รักชาติ ศาสน์    กษัตริย์  อยู่อย่างพอเพียง   ซื่อสัตย์  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย  และมีจิตสาธารณะ

 ผลการเรียนรู้

  1. อธิบายความหมายของแบบจำลองอะตอมพร้อมทั้งบอกสาเหตุที่ทำให้แบบจำลองมีการเปลี่ยนแปลง
  2. เปรียบเทียบแบบจำลองอะตอมของดอลตัน  ทอมสัน  รัทเทอร์ฟอร์ด  โบร์และแบบกลุ่มหมอก
  3. อธิบายสมบัติของอนุภาคมูลฐานของอะตอม
  4. เขียนและแปลความหมายสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของ
  5. อธิบายผลการศึกษาที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอิเล็กตรอนในอะตอมอยู่ในระดับพลังงานต่างๆ กัน
  6. จัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมเมื่อทราบเลขอะตอมของธาตุ  พร้อมทั้งระบุ หมู่ คาบและกลุ่มของธาตุในตางธาตุได้
  7. บอกแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในยุคต่างๆ เกี่ยวกับการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่จนได้เป็นตารางธาตุ  พร้อมทั้งระบุปัญหาของการจัดได้
  8. สรุปแนวโน้มของสมบัติต่างๆของธาตุตามหมู่และตามคาบเกี่ยวกับขนาดอะตอม  รัศมีไอออน  พลังงานไอออไนเซชัน  อิเล็กโทรเนกาติวิตี  สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน   จุดหลอมเหลวและจุดเดือด  พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบและคำนวณหาเลขออกซิเดชันของธาตุในสารประกอบและไอออนต่างๆ พร้อมทั้งเปรียบเทียบเลขออกซิเดชันของธาตุโลหะและอโลหะได้
  9. ทำการทดลอง  รวบรวมข้อมูล  แปลความหมายข้อมูล  และสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการศึกษาสีของเปลวไฟจากสารประกอบและเส้นสเปกตรัมของธาตุบางชนิด
  10. อธิบายเกี่ยวกับกฎออกเตต  การเกิดไอออน  การเกิดพันธะไอออนิกและโครงสร้างของสารประกอบไอออนิก  การเปลี่ยนแปลงพลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก  และสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก  ปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก  พร้อมทั้งเขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ   เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิกได้
  11. อธิบายเกี่ยวกับการเกิดพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลของไฮโดรเจน 
  12. อธิบายการเกิดพันธะและระบุชนิดของพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลพร้อมทั้งแสดงโครงสร้างของโมเลกุลโคเวเลนต์ด้วยโครงสร้างลิวอีส
  13. ยกตัวอย่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
  14. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์
  15. ใช้ความรู้เรื่องความยาวพันธะและพลังงานพันธะระบุชนิดของพันธะโคเวเลนต์และใช้ค่าพลังงานพันธะคำนวณหาพลังงานที่เปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาได้
  16. อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของสารโคเวเลนต์ที่มีโครงสร้างเรโซแนนซ์ได้
  17. ทำนายรูปร่างของโมเลกุลโคเวเลนต์  เมื่อทราบจำนวนพันธะและจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางได้
  18. อธิบายสภาพขั้วและทิศทางของขั้วของพันธะโคเวเลนต์และของโมเลกุลโคเวเลนต์ได้
  19. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์  รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลกับจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารโคเวเลนต์ได้
  20. บอกสมบัติที่แตกต่างกันของสารโคเวเลนต์ประเภทโมเลกุลมีขั้ว  ไม่มีขั้วและโครงผลึกร่างตาข่ายได้
  21. อธิบายการเกิดพันธะโลหะและใช้ความรู้เรื่องพันธะโลหะอธิบายสมบัติของโลหะได้
  22. ทำการทดลอง  รวบรวมข้อมูล  จัดกระทำข้อมูล  แปลความหมายข้อมูล  และสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานของสารประกอบไอออนิกเมื่อละลายในน้ำและปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิกได้
  23. สรุปสมบัติต่างๆ ของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่และตามคาบ  เกี่ยวกับจุดหลอมเหลว  จุดเดือด  ความเป็นกรด-เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์  การละลายน้ำและเลขออกซิเดชัน  พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบได้
  24. เปรียบเทียบความว่องไวในการทำปฏิกิริยาพร้อมทั้งเขียนสมการแสดงปฏิกิริยาระหว่างธาตุหมู่ I A  IIA  กับน้ำเปรียบเทียบการละลายน้ำของสารประกอบของธาตุหมู่ I A  IIA  และเปรียบเทียบความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุในหมู่ VIIA
  25. เปรียบเทียบสมบัติของธาตุแทรนซิชันกับธาตุหมู่ I A  IIA  VIIA และพวกธาตุกึ่งโลหะได้
  26. เปรียบเทียบสมบัติของสารประกอบของธาตุแทรนซิชันกับสารประกอบของธาตุหมู่ I A  IIA  VIIAได้
  27. บอกสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีและเขียนสมการแสดงปฏิกิริยานิวเคลียร์บางปฏิกิริยาได้
  28. บอกความหมายของปฏิกิริยาฟิชชัน  ปฏิกิริยาฟิวชันและปฏิกิริยาลูกโซ่ได้
  29. บอกประโยชน์และโทษของธาตุหมู่ I A  IIA  VIIA ธาตุแทรนซิชันและสารกัมมันตรังสีได้
  30. บอกสมบัติ  ประโยชน์และโทษของธาตุและสารประกอบที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

รวม 30 ผลการเรียนรู้


Guests cannot access this course. Please log in.